นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น
บริษัทมีนโยบายในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเป็นไปตามข้อกฎหมายที่ทางการกำหนด โดยให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิผู้ถือหุ้น บริษัทจึงกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหุ้น ดังต่อไปนี้
 
สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น
 • สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และออกเสียงลงคะแนน
 • สิทธิในการมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมเพื่อออกเสียงลงคะแนนแทนได้
 • สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ซักถามในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
 • สิทธิในการร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ
    การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี เป็นต้น
 
การประชุมผู้ถือหุ้น
 • การกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทจัดการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี ภายใน 4 เดือนภายหลังวันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัท โดยปกติจัดขึ้น ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสถานที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการจะกำหนด
 
 • การส่งหนังสือนัดประชุม
บริษัทจะจัดทำหนังสือนัดประชุม โดยระบุวัน เวลา สถานที่ ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม และคำชี้แจงเหตุผลหรือความเห็นของคณะกรรมการประกอบในแต่ละวาระตามที่ระบุไว้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และจัดส่งหนังสือนัดประชุมและข้อมูลประกอบการประชุมวาระต่าง ๆ ให้ผู้ถือหุ้นรับทราบล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุม ในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 วันติดต่อกันก่อนวันประชุม รวมทั้งเผยแพร่หนังสือนัดประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาในการศึกษาข้อมูลเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุม
 
 • การมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทน
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุม เพื่อออกเสียงลงคะแนนแทนได้ โดยบริษัทจะส่งแบบหนังสือมอบฉันทะที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนด ทิศทางการลงคะแนนเสียงได้และเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 2 คนเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะพร้อมไปกับหนังสือเชิญประชุม
 
 • การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามและแสดงความคิดเห็น และการออกเสียงลงคะแนน
ก่อนการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้ง บริษัทจะชี้แจงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุม ขั้นตอนการออกเสียงลงคะแนน รวมทั้งสิทธิการออกเสียงลงคะแนน และวิธีนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นที่ต้องลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระให้แก่ผู้ถือหุ้นรับทราบ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมทุกรายสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ซักถามในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้เวลาอย่างเหมาะสม
 
 • การเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ
  1. ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม ซึ่งถือหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท สามารถเสนอชื่อบุคคลให้เข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทได้ โดยทำเป็นหนังสือถึงเลขานุการคณะกรรมการบริษัทภายในระยะเวลา 45 วันหลังวันสิ้นงวดบัญชีประจำปีของบริษัท ระบุรายละเอียดข้อมูลประวัติส่วนตัว ประสบการณ์การทำงาน เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งหนังสือให้ความยินยอมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี โดยบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 (รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) และประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เป็นต้น
  2. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทว่าสอดคล้องกับองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท ในพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้าน 1) การเงิน การคลัง การธนาคาร 2) บัญชี การตรวจสอบ บริหารความเสี่ยง 3) บริหารธุรกิจ การตลาด 4) เศรษฐศาสตร์ 5) ธุรกิจระหว่างประเทศ 6) กฎหมาย และ 7) เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนกำหนด และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือไม่
  3. หากคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าวเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย และสอดคล้องกับองค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัท ในพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนด และสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจะให้ความเห็นชอบ และนำเสนอธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  4. เมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจะเสนอต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าวเข้าเป็นกรรมการของบริษัทต่อไป
  5. บริษัทต้องไม่เปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งต่อสาธารณชนก่อนได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
 
  หลักเกณฑ์ในการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ
  1. คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนรวมกันของบริษัท ที่ประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ ต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
  2. การเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 ของหลักเกณฑ์นี้ สามารถเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการได้ โดยกรอก “แบบขอเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ” พร้อมแนบเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง และขอให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อกรอก “แบบข้อมูลบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ” พร้อมแนบเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งหนังสือให้ความยินยอมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าว ส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนถึงบริษัท ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ตามที่อยู่ดังนี้
   
เลขานุการคณะกรรมการบริษัท หน่วยงานเลขานุการบริษัท
บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
ชั้น 40 อาคาร ซีอาร์ซีทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส
เลขที่ 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

กรณีผู้ถือหุ้นหลายคนรวมกันเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ผู้ถือหุ้นทุกคนกรอก “แบบขอเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ” และลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน แล้วรวบรวมส่งเป็นชุดเดียวกัน
 
   
เอกสาร ดาวน์โหลด
แบบขอเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ
แบบข้อมูลบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ
 
3.

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะเป็นผู้พิจารณารายชื่อบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเสนอ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ครบถ้วน ถูกต้อง และมีข้อมูลเพียงพอ ทั้งนี้ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของบริษัทที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้าน 1) การเงิน การคลัง การธนาคาร 2) บัญชี การตรวจสอบ บริหารความเสี่ยง 3) บริหารธุรกิจ การตลาด 4) เศรษฐศาสตร์ 5) ธุรกิจระหว่างประเทศ 6) กฎหมาย และ 7) เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนกำหนด และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะพิจารณากลั่นกรอง คัดเลือก ผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการของบริษัท เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทก่อน ขอความเห็นชอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป
 
 • การจ่ายเงินปันผล
เอกสาร ดาวน์โหลด
ประกาศบริษัทที่ 011/2564 เรื่อง การจ่ายเงินปันผล

 • การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัททุกปี โดยอาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนเดิมอีกก็ได้ แต่ผู้สอบบัญชีนั้นต้องไม่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ในบริษัท และต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย